Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/515
Title: A MODEL OF SOCIAL SKILLS DEVELOPMENT NEED ANALYSIS OF LOGISTICS STAFF WORKING IN WAREHOUSES IN COMPANIES IN LAEM CHABANG PORT
แบบจำลองการวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนาทักษะทางสังคมของผู้ปฏิบัติงานโลจิสติกส์ในแผนกคลังสินค้าในบริษัทในท่าเรือแหลมฉบัง
Authors: Kanokwan Sakunsongdej
กนกวรรณ สกุลทรงเดช
WATUNYOO SUWANNASET
วทัญญู สุวรรณเศรษฐ
Burapha University. Faculty of Education
Keywords: การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์/ การวิเคราะห์ความจำเป็น/ ทักษะทางสังคม/ ท่าเรือ/ คลังสินค้า
HUMAN RESOURCE DEVELOPMENT/ NEEDS ANALYSIS/ SOCIAL SKILLS/ PORT/ WAREHOUSES
Issue Date:  11
Publisher: Burapha University
Abstract: The Logistics service industry in companies in Laem Chabang Port is a significant income source for Thailand. This growing industry is supported by other related businesses to provide services and welcome Thai and foreign customers. Most Logistics services in warehouses, port companies and other industries, rely on the welcoming skills of their human resources. Undoubtedly, service excellence by staff in companies in Laem Chabang port could deliver memorable experiences to customers. Notwithstanding this, the promised excellent services would not happen if companies in Laem Chabang port did not possess the knowledge to train and develop their human resources. This qualitative study applying the Grounded Theory strategy has two objectives: 1) To study how to analyze the need for the development of social skills of logistics workers in warehouses in companies in Laem Chabang Port 2) To present a model for analyzing the need for social skills development of logistics workers in warehouses of companies in Laem Chabang Port. Three data collection techniques were a semi-structured interview with a manager (More than ten years of work experience) 2 people, Human Resource Managers (More than five years of work experience) 3 people, and Logistics Managers (More than five years of work) 5 people. The above 3 groups must be personnel in the companies in Laem Chabang Port taking part in a case study for 6 months or more. This Included all 10 informants in 10 companies and some documents concerning their operations were also reviewed to gain deep understanding. The steps of Grounded-theory data analysis called “the constant comparative method” were used to analyze data in this study. This study reports at least 4 significant data sources required in the HRD needs analysis process. Most warehouses in companies in Laem Chabang Port in this study practice eight HRD needs analysis steps: Process 1 Data Collection; Process 2 Data analysis and drafting of human resource development course plans; Process 3 Determining the suitability of courses and prioritizing them; Process 4 getting final approval from GMs; Process 5 Public relations and assigning relevant stakeholders to take action; Process 6 Stakeholders carry out development activities according to the design plan; Process 7 Evaluation; and process 8 improves the results of the last year's program. Besides that, the study finally presented the HRD needs analysis model highlighting the people involved, steps/methods, data sources and assessment criteria to benefit HR’s in the Logistics service industry at port businesses.
อุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางทะเลในท่าเรือแหลมฉบังถือเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งธุรกิจการให้บริการด้านโลจิสติกส์ในแผนกคลังสินค้าในบริษัทในท่าเรือและธุรกิจอื่น ๆ ภายใต้อุตสาหกรรมนี้ อาศัยทักษะของบุคลากรในการให้บริการในคลังสินค้า ทั้งการรับ จัดเก็บ และจัดส่งให้กับลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการบริการที่เป็นเลิศอาจไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากบริษัทในท่าเรือขาดองค์ความรู้ในการวางแผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพใช้ยุทธศาสตร์การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างทฤษฎี มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาวิธีการวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนาทักษะทางสังคมของผู้ปฏิบัติงานโลจิสติกส์ในแผนกคลังสินค้าในบริษัทในท่าเรือแหลมฉบัง และ 2) เพื่อนำเสนอแบบจำลองการวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนาทักษะทางสังคมของผู้ปฏิบัติงานโลจิสติกส์ในแผนกคลังสินค้าในบริษัทในท่าเรือแหลมฉบัง โดยผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยวิธีสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยเทคนิคการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างกับผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ผู้บริหารองค์กร (มีอายุงาน 10 ปีขึ้นไป) จำนวน 2 คน กลุ่มที่ 2 ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล (มีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป) จำนวน 3 คน และกลุ่มที่ 3 ผู้จัดการฝ่ายโลจิสติกส์ (มีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป) จำนวน 5 คน โดยทั้ง 3 กลุ่มข้างต้น ต้องเป็นบุคลากรในบริษัทในท่าเรือแหลมฉบังที่เป็นกรณีศึกษา ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป รวมทั้งหมด 10 คน ในจำนวน 10 บริษัท และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ใช้วิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างทฤษฎีตามแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเปรียบเทียบข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่พิจารณาแหล่งข้อมูลสำคัญอย่างน้อย 4 แหล่ง และมีกระบวนการดำเนินการ 8 กระบวนการ ดังนี้ กระบวนการที่ 1 การรวบรวมข้อมูล กระบวนการที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลและร่างแผนหลักสูตรการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการที่ 3 การพิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตรและจัดลำดับความสำคัญ กระบวนการที่ 4 การพิจารณาอนุมัติโครงการ กระบวนการที่ 5 การประชาสัมพันธ์และมอบหมายผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวข้องให้ไปดำเนินการ กระบวนการที่ 6 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนาตามแผนที่ออกแบบ กระบวนการที่ 7 การประเมินผล และกระบวนการที่ 8 ปรับปรุงผลการจัดโปรแกรมปีที่แล้ว นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแบบจำลองการวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนาทักษะทางสังคมของผู้ปฏิบัติงานโลจิสติกส์ในแผนกคลังสินค้าในบริษัทในท่าเรือแหลมฉบังดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการให้บริการด้านโลจิสติกส์ในแผนกคลังสินค้าในบริษัทในท่าเรือของประเทศไทย
Description: Doctor Degree of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/515
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62810055.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.