Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/512
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorChanita Sujaritthanyatrakulen
dc.contributorชนิตา สุจริตธัญตระกูลth
dc.contributor.advisorDOLDAO WONGTHEERATHORNen
dc.contributor.advisorดลดาว วงศ์ธีระธรณ์th
dc.contributor.otherBurapha University. Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2022-11-23T07:34:30Z-
dc.date.available2022-11-23T07:34:30Z-
dc.date.issued11/11/2022
dc.identifier.urihttp://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/512-
dc.descriptionMaster Degree of Science (M.Sc.)en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)th
dc.description.abstractThe purpose of this research was to summarize the use of existential theory in counseling for vulnerable groups in Thailand that included 1) Higher risk than general person group (youth, elderly person, patients) 2) Disability group (handicapped person) 3) Deminish autonomy group (prisoners) and 4) Social impairment group (drug addicts, sex workers, etc.). To study characteristics of existential counseling to influence the success in counseling and to compare the outcome of different existential approach in counseling between logotherapy and existential-humanistic approach. The method of this research was a meta-analysis that synthesis from 32 studies which published during the year 2000 to 2019. Data were collected with research quality assessment forms and research characteristic coding forms. Then calculated the effect size and analyzed the data with random effect model. The result was the mostly characteristics of existential counseling had large effect (d = 2.05). The characteristics of existentail counseling used in this study were the factors affecting the effectiveness of counseling as follows: 1) Sample factors (sex, age, sample number) 2) Existential approach factors (logotherapy, existential-humanistic approach) 3) Psychological variables factors (psychopathology, self-efficacy, meaning in life ) 4) Type of counseling factors (Individual counseling, group counseling) and 5) Counseling plan factors (number of sessions, frequency, duration per session, total counseling period). The effect sizes of these factors were not different except the sex of all female samples had significantly difference effect size at .05. Moreover the disability group had significantly difference effect size at  .05. When compared the outcome of existential approach in different psychological variables found the logotherapy in self-efficacy and meaning in life had more effect size than existential-humanistic approach while the existential-humanistic approach in psychopathology had more effect size than logotherapy, but were not significant. The conclusion was the most of the factors affecting the effectiveness of existential counseling for Thai vulnerable groups had no different. The existential theory for vulnerable groups was effective in itself and can be applied for vulnerable persons in all styles.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาข้อสรุปการใช้ทฤษฎีการปรึกษาอัตถิภาวนิยมในกลุ่มเปราะบางของประเทศไทยที่ประกอบด้วย 1) กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป เช่น เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย 2) กลุ่มทุพพลภาพ เช่น ผู้พิการ อัมพาต 3) กลุ่มที่ไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระ เช่น ผู้ต้องขัง ผู้อยู่ในสถานพินิจ และ 4) กลุ่มด้อยค่าในสังคม เช่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้บริการทางเพศ ฯ โดยศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปรึกษาทฤษฎีอัตถิภาวนิยมและเปรียบเทียบประสิทธิผลแนวทางการปรึกษาทฤษฎีอัตถิภาวนิยมที่แตกต่างกัน ได้แก่ แนวทางความหมายในชีวิต (Logotherapy) และแนวทางอัตถิภาวนิยม-มนุษยนิยม (Existential-Humanistic Approach) ด้วยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยที่มีการเผยแพร่ผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2543-2562 จำนวน 32 เล่ม ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบบันทึกข้อมูลคุณลักษณะงานวิจัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่าขนาดอิทธิพลและทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลการวิเคราะห์อิทธิพลสุ่ม (random effect model) ผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะงานวิจัยโดยส่วนใหญ่ให้ขนาดอิทธิพลระดับมาก (d = 2.05) โดยคุณลักษณะงานวิจัยที่ใช้ศึกษาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปรึกษา ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านกลุ่มตัวอย่าง (เพศ อายุ จำนวนตัวอย่าง) 2) ปัจจัยด้านแนวทางการปรึกษา (แนวทางความหมายในชีวิต แนวทางอัตถิภาวนิยม-มนุษยนิยม) 3) ปัจจัยด้านตัวแปรทางจิตวิทยา (ด้านภาวะทางจิตใจ ด้านศักยภาพในตนเอง ด้านความหมายในชีวิต) 4) ปัจจัยด้านประเภทการปรึกษา (การปรึกษารายบุคคล การปรึกษากลุ่ม) และ 5) ปัจจัยด้านแผนการปรึกษา (จำนวนครั้งการปรึกษา ความถี่ของการปรึกษา ระยะเวลาการปรึกษาต่อครั้ง ระยะเวลาการปรึกษาทั้งหมด) มีค่าขนาดอิทธิพลไม่ต่างกัน ยกเว้นเพศของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงทั้งหมดมีค่าขนาดอิทธิพลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ประเภทของกลุ่มเปราะบางกลุ่มทุพพลภาพก็มีค่าขนาดอิทธิพลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบแนวทางการปรึกษาทฤษฎีอัตถิภาวนิยมตามตัวแปรทางจิตวิทยาที่ต่างกันพบว่า แนวทางความหมายในชีวิตด้านศักยภาพในตนเองและด้านความหมายในชีวิตมีค่าขนาดอิทธิพลมากกว่าแนวทางอัตถิภาวนิยม-มนุษยนิยม ขณะที่แนวทางอัตถิภาวนิยม-มนุษยนิยมด้านภาวะทางจิตใจมีค่าขนาดอิทธิพลมากกว่าแนวทางความหมายในชีวิต แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าปัจจัยโดยส่วนใหญ่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปรึกษาทฤษฎีอัตถิภาวนิยมในกลุ่มเปราะบางชาวไทยไม่ต่างกัน ดังนั้นทฤษฎีการปรึกษาอัตถิภาวนิยมในกลุ่มเปราะบางมีประสิทธิผลในตัวเองสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบุคคลเปราะบางได้ทุกรูปแบบth
dc.language.isoth
dc.publisherBurapha University
dc.rightsBurapha University
dc.subjectการปรึกษาทฤษฎีอัตถิภาวนิยมth
dc.subjectแนวทางความหมายในชีวิตth
dc.subjectอัตถิภาวนิยม-มนุษยนิยมth
dc.subjectขนาดอิทธิพลth
dc.subjectกลุ่มเปราะบางth
dc.subjectEXISTENTIAL COUNSELINGen
dc.subjectLOGOTHERAPYen
dc.subjectEXISTENTIAL-HUMANISTICen
dc.subjectEFFECT SIZEen
dc.subjectVULNERABLE GROUPSen
dc.subject.classificationPsychologyen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleEFFECTIVENESS OF EXISTENTIAL COUNSELING FOR THAI VULNERABLE GROUPS: A META-ANALYSISen
dc.titleประสิทธิผลการปรึกษาทฤษฎีอัตถิภาวนิยมในกลุ่มเปราะบางชาวไทย: การวิเคราะห์อภิมานth
dc.typeTHESISen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62910194.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.