Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/509
Title: THE EFFECTS OF PROBLEM-BASED LEARNING ACTIVITIES WITH DAPIC ON MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING AND CONNECTION SKILLS OF SIXTH GRADE STUDENTS
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Authors: Panyapon Thongdee
ปัญญพนต์ ทองดี
PALADORN SUWANNAPHO
ผลาดร สุวรรณโพธิ์
Burapha University. Faculty of Education
Keywords: กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
กระบวนการแก้ปัญหา DAPIC
ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์
PROBLEM-BASED LEARNING ACTIVITY
DAPIC
MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING SKILL
MATHEMATICAL CONNECTION SKILL
Issue Date:  20
Publisher: Burapha University
Abstract: The purposes of this research were 1) to compare the mathematical problem solving skill of grade 6 students after obtaining learning activity management using problem–based with DAPIC with the criterion of 70 percent and 2) to compare mathematical connection skill of grade 6 students after obtaining learning activity management using problem–based with DAPIC with the criterion of 70 percent. The sample was 24 students of grade 6/1 in the second semester of the 2021 academic year at Bannongbon School, Trat Province. They were selected by the cluster random sampling technique. The research instruments used in this research consisted of 1) six lesson plans by using problem-based learning activities with DAPIC, and 2) mathematical problem solving skill and mathematical connection skill test with reliability of 0.79. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test for one sample. The research results were that the mathematical problem solving skill of grade 6 students after obtaining learning activity management using problem–based with DAPIC was higher than the criterion of 70 percent at .05 level of significance. The mathematical connection skill of grade 6 students after obtaining learning activity management using problem–based with DAPIC was higher than the criterion of 70 percent at .05 level of significance.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านหนองบอน จังหวัดตราด จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC จำนวน 6 แผน 2) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง รูปสามเหลี่ยมและรูปหลายเหลี่ยม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา DAPIC สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master Degree of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/509
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920073.pdf9.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.