Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/484
Title: FACTORS RELATED TO SUCCESSFUL AGING IN SLUM COMMUNITY
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในชุมชนแออัด
Authors: Kunlawan Sirinam
กุลวรรณ ศิรินาม
PORNCHAI JULLAMATE
พรชัย จูลเมตต์
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: ปัจจัย/ ผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ/ ชุมชนแออัด
FACTORS/ SUCCESSFUL AGING/ SLUM COMMUNITY
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: Successful aging is a significant component of achieving a healthy and happy life. However, older adults living in slum communities have different, often less desirable lifestyles than elders who live in other settings. Thus it is important to promote successful aging among the elderly in slum communities. This study aimed to study the level of successful aging and factors related to successful aging in slum communities, using a descriptive correlational design. 83 adults aged 60 years old and over who lived in the Lock 1-2-3 community, Klongtoey, Bangkok were recruited through simple random sampling. Data-collection instruments consisted of a Demographic questionnaire, Self-Rated Health, the General Self-Efficacy Scale, the Multidimensional Scale of Perceived Social Support, and the Successful Aging Inventory. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson product-moment correlation coefficient. The results revealed that successful aging in the sample of elderly was at a medium level (M = 54.19, SD = 6.34, Max = 72, Min = 25). Successful aging was related significantly and positively to social support, life satisfaction, self-esteem, interpersonal relations, perceived health status, self-efficacy, and spiritual well-being (r = .561, .413, .380, .324, .301, .292, .282, p < .05). The results suggest that healthcare providers can apply the research findings to promote and enhance successful aging among older adults in slum communities.
การส่งเสริมผู้สูงอายุในชุมชนแออัดให้เป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จนั้นเป็นเรื่องสำคัญ  เนื่องจากสิ่งแวดล้อมและบริบทในชุมชนแตกต่างจากชุมชนทั่วไป การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ และศึกษาปัจจัยที่มีปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในชุมชนแออัด โดยทำการศึกษาในผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในชุมชนล็อค 1-2-3 แขวงคลองเตย กรุงเทพมหานคร จำนวน 83 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสัมภาษณ์ความสามารถในการดูแลตนเอง แบบสัมภาษณ์ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสัมภาษณ์สัมพันธภาพระหว่างบุคคลของผู้สูงอายุ แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความผาสุกทางจิตวิญญาณ และแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจในชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุในชุมชนแออัดมีระดับการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จ อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 49.39 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในชุมชนแออัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม (r = .561, p < .01) ความพึงพอใจในชีวิต (r = 413, p < .05) การเห็นคุณค่าในตนเอง (r = .380, p < .05) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (r = .324, p < .01) การรับรู้ภาวะสุขภาพ (r = 0.301, p < .01) ความสามารถในการดูแลตนเอง (r = .292, p < .05) และความผาสุกทางจิตวิญญาณ (r = .282, p < .05) บุคคลากรด้านสุขภาพสามารถนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการเตรียมความพร้อมหรือเสริมสร้างการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในชุมชนแออัด และสามารถนำผลการวิจัยเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิจัยเพื่อหาปัจจัยทำนาย หรือนำตัวแปรที่มีความสัมพันธ์จากการวิจัยครั้งนี้มาเป็นข้อมูลพื้นฐาน เพื่อสร้างโปรแกรมในการส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ประสบความสำเร็จในชุมชนแออัด
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/484
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59920415.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.