Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/483
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorKrongthong Saengsawangen
dc.contributorกรองทอง แสงสว่างth
dc.contributor.advisorPORNCHAI JULLAMATEen
dc.contributor.advisorพรชัย จูลเมตต์th
dc.contributor.otherBurapha University. Faculty of Nursingen
dc.date.accessioned2022-08-25T03:55:42Z-
dc.date.available2022-08-25T03:55:42Z-
dc.date.issued15/11/2021
dc.identifier.urihttp://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/483-
dc.descriptionMaster Degree of Nursing Science (M.N.S.)en
dc.descriptionพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)th
dc.description.abstractColorectal cancer jeopardizes the health of older adults in many ways: physical, mental, emotional, social, economic and spiritual. This two-group pretest-posttest quasi-experimental research aimed to examine the effect of nursing care based on Swanson’s theory of caring on the well-being of elderly with colorectal cancer receiving chemotherapy. The sample was 40 older adults, male and female, receiving in-patient care including chemotherapy, for diagnosed colorectal cancer. Simple random sampling was employed to assign older adults equally to control and experimental groups. The experimental group received Swanson’s caring for 9 weeks, with nursing care divided into three phases: pre-chemotherapy care, care during chemotherapy, and post-chemotherapy. Five activities were focused upon, based in Swanson’s work: 1) maintaining belief, 2) knowing, 3) being with, 4) doing for, and 5) enabling. The control group received usual nursing care. Data-collection tools were a personal interview, patient medical history, and a well-being assessment form for colorectal cancer patients, which had a reliability of .90. The data were analyzed using frequencies, percentages, means, standard deviations, and independent t-tests. The results revealed that: 1) the experimental group’s mean well-being score was significantly (P<.05) higher at post-test than at pre-test (T19 = 3.69, p < .01), and 2) the experimental group’s mean well-being post-test score was significantly (P<.05) higher than the control group’s (T38 = 2.20, p < .05). Based on the findings, it is recommended that registered nurses apply Swanson’s caring to enhance the well-being of elderly with colorectal cancer who are receiving chemotherapy.en
dc.description.abstractโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักทำให้ผู้สูงอายุเกิดการสูญเสียในหลายด้าน เกิดผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม เศรษฐกิจ และจิตวิญญาณ การวิจัยนี้เป็นแบบกึ่งทดลองชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลแบบเอื้ออาทรของสแวนสันต่อความผาสุกในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่รับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโดยให้ยาเคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว จำนวน 40 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 ราย กลุ่มควบคุม 20 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยจับฉลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลแบบเอื้ออาทรของสแวนสันที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งแบ่งการพยาบาลเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การดูแลก่อนได้รับยาเคมีบำบัด ระยะที่ 2 การดูแลระหว่างได้รับยาเคมีบำบัดและ ระยะที่ 3 การดูแลหลังได้รับยาเคมีบำบัด ใช้เวลาทั้งสิ้น 9 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรม 5 ด้าน ได้แก่ 1) การดำรงไว้ซึ่งความหวัง ความเชื่อ ความศรัทธา 2) การรู้จักผู้ป่วยในฐานะบุคคลคนหนึ่ง 3) การเฝ้าดูแลผู้ป่วยอยู่เสมอ 4) การช่วยเหลือทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ และ 5) การสนับสนุนให้ผู้ป่วยมีความสามารถ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเจ็บป่วย  และแบบวัดความผาสุกสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกในระยะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (T19 = 3.69, p < .01) และ 2) ผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัดในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความผาสุกหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (T38 = 2.20, p < .05) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรประยุกต์ใช้การพยาบาลแบบเอื้ออาทรของ สแวนสันในการดูแลผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัดให้มีความผาสุกth
dc.language.isoth
dc.publisherBurapha University
dc.rightsBurapha University
dc.subjectผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักth
dc.subjectการรักษาด้วยเคมีบำบัดth
dc.subjectการดูแลแบบเอื้ออาทรของสแวนสันth
dc.subjectความผาสุกth
dc.subjectELDERLY WITH COLORECTAL CANCERen
dc.subjectCHEMOTHERAPYen
dc.subjectSWANSON’S CARINGen
dc.subjectWELL-BEINGen
dc.subject.classificationNursingen
dc.titleTHE EFFECT OF NURSING CARE BASED ON SWANSON’S CARING ON WELL-BEING OF ELDERLY WITH COLORECTAL CANCER RECEIVING CHEMOTHERAPYen
dc.titleผลของการพยาบาลแบบเอื้ออาทรของสแวนสันต่อความผาสุกในผู้สูงอายุโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัดth
dc.typeTHESISen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59920042.pdf3.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.