Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/438
Title: PSYCHOLOGICAL HAZARDS AND METABOLIC SYNDROME RELATED TO CARDIOVASCULAR DISEASES AMONG HEALTHCARE PERSONNEL IN A HOSPITAL, CHONBURI PROVINCE 
สิ่งคุกคามทางด้านสุขภาพจิต และกลุ่มอาการทางเมตาบอลิกที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในบุคลากรทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ในจังหวัดชลบุรี
Authors: Sirawit Stitsmith
ศิรวิทย์ สถิตสมิทธ์
NANTAPORN PHATRABUDDSA
นันทพร ภัทรพุทธ
Burapha University. Faculty of Public Health
Keywords: สิ่งคุกคามทางด้านสุขภาพจิต/ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด/ กลุ่มอาการทางเมตาบอลิก/ บุคลากรทางการแพทย์
PSYCHOLOGICAL HAZARDS/ CARDIOVASCULAR DISEASE/ METABOLIC SYNDROME/ HEALTHCARE PERSONNEL
Issue Date:  4
Publisher: Burapha University
Abstract: This descriptive research study using historical data from secondary data for the past 10 years combined with a cross sectional study aimed to investigate relationship between the psychological hazards and metabolic syndrome with the occurrence of cardiovascular disease (CVD) among healthcare personnel in a hospital, Chonburi Province, Thailand. The sample size was calculated by using the Krejcie & Morgan's table was 281 eligible healthcare personnel.  Data were collected using the questionnaire for the demographic data, Job Contents Questionnaires (JCQ) and Depression Anxiety Stress Scales (DASS). The statistics used in the data analysis were descriptive and inferential statistics including chi-square test, univariate analysis and binary logistic regression.                         Results of this study revealed that sample group was male 19.57%, average age was 47.36 years (SD ±6.71), age range between 45-54 years was 45.55%, body mass index > 23.5 kg/m2 was 69.04 %. The relationship to cardiovascular diseases was investigated between personal health profile, occupational psychological hazards and metabolic syndrome status. Univariate analysis found that 3 variables were statistically significant as working experience > 25 years OR = 1.9 (p = 0.02, 95%CI 1.12-3.21), metabolic syndrome OR = 2.08 (p = 0.01, 95% CI 1.18-3.67), moderate anxiety and above OR = 2.14 (p = 0.050, 95%CI 0.99-4.65), respectively. All variables were considered by binary logistic regression, metabolic syndrome adjusted OR = 2.37 (p = 0.005, 95%CI 1.29-4.34), working experience > 25 years adjusted OR = 2.19 (p = 0.006, 95%CI 1.25-3.86), they were all factors that could predict the incidence of CVD.                         The data from this study can be used as a basis for further study and beneficial for health prevention, health promotion and CVD surveillance among healthcare personnel with mental health risks and metabolic syndrome to reduce the chance of developing CVD.
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยใช้ข้อมูลเวชระเบียนย้อนหลัง 10 ปี ร่วมกับการศึกษาภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลร่วมของสิ่งคุกคามทางด้านสุขภาพจิตและกลุ่มอาการเมตาบอลิกกับการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดของกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดชลบุรี คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากตารางสำเร็จรูปเครซี่และมอร์แกนโดยมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 281 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามวัดความเครียดในการทํางาน JCQ (Job Content Questionnaire) และมาตรวัดปัญหาด้านจิตใจ DASS (Depression Anxiety Stress Scales) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ การวิเคราะห์แบบตัวแปรเดียว และสถิติถดถอยแบบทวิ                         ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายร้อยละ 19.57 เฉลี่ย 47.36 ปี (SD ± 6.71) ส่วนใหญ่ มีช่วงอายุระหว่าง 45-54 ปี ร้อยละ 45.55 โดยดัชนีมวลกายมากกว่า 23.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ร้อยละ 69.04 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด พบว่า จำนวนปีการทำงาน และการเป็นกลุ่มอาการทางเมตาบอลิกมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่ความเครียดจากการทำงานทั้ง 6 ด้าน และปัญหาทางด้านจิตใจ ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดแบบตัวแปรเดียว พบตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.05 ได้แก่ การทำงานมากกว่า 25 ปี OR = 1.9 (p = 0.02, 95%CI 1.12-3.21) การเป็นกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก OR = 2.08 (p = 0.01, 95%CI 1.18-3.67) ความวิตกกังวลระดับปานกลางขึ้นไป OR = 2.14 (p = 0.050, 95%CI 0.99-4.65) และเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์พหุตัวแปรด้วยสถิติถดถอยแบบทวิ พบว่ามีปัจจัยที่ทำนายการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ การเป็นกลุ่มอาการเมตาบอลิก Adjusted OR = 2.37 (p = 0.005, 95%CI 1.29-4.34)  และระยะเวลาการทำงานมากกว่า 25 ปีขึ้นไป Adjusted OR = 2.19 (p = 0.006, 95%CI 1.25-3.86)                         ผลจากการศึกษานี้เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มบุคลากรที่มีปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพจิตร่วมกับกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก ซึ่งอาจช่วยลดโอกาสเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดได้
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/438
Appears in Collections:Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920129.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.