Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorPichitra Patipaten
dc.contributorพิจิตรา ปฏิพัตรth
dc.contributor.advisorPRAVENA MEEPRADITen
dc.contributor.advisorปวีณา มีประดิษฐ์th
dc.contributor.otherBurapha University. Faculty of Public Healthen
dc.date.accessioned2022-03-09T08:56:44Z-
dc.date.available2022-03-09T08:56:44Z-
dc.date.issued26/11/2021
dc.identifier.urihttp://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/404-
dc.descriptionDoctor Degree of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThe objectives of this research were to 1) study the operation of occupational safety, health and environment management in higher education institutions. According to the Occupational Safety, Health and Environment Act B.E. 2554 2) To develop a model for the management of occupational safety, health and environment for higher education institutions according to the Occupational Safety, Health and Environment Act B.E. 2554 3) To develop a recommendation system for the management of safety, occupational health and working environment for higher education institutions with information technology systems. The sample group used to study the implementation of safety management in phase 1 were professionals in occupational safety, health and work environment management who graduated from the field of occupational health or equivalent. And is a full-time teacher in a higher education institution that offers teaching in the field of occupational health or the equivalent of 17 people with Delphi techniques. The sample group in the evaluation of the recommendation system in Phase 3 was divided into 2 groups, namely instructors responsible for occupational health courses or equivalent, and teachers who are not responsible for occupational health courses or equivalent A total of 55 people working in the same place, including 17 samples in phase 1 were included. The results of the research can be summarized as follows. Results of the study of safety management operations occupational health and working environment of higher education institutions with Delphi technique It was found that what higher education institutions have to do in addition to the occupational safety, health and environment Act B.E. 2554, the most is the assessment of safety risks at work with a consensus of 94.1%. Guidelines to ensure compliance with such laws is to promote public relations for senior executives and all personnel know that there is a consensus of 100 %. The management model, there is an opinion that there must be a safety agency in a higher education institution with a consensus of 100 % to be under the control of the safety committee that come from executives from all departments as a committee with 100% consensus. Results of the development of a model for the management of occupational safety, health and working environment for higher education institutions The researcher developed a total of 4 safety management manuals in E-Book format, which were assessed in terms of content and format, at a high level of suitability on both sides = 3.76 and 4.05, respectively. Use the computer language for the display of the website, i.e. HTML version 5, CSS version 3 and JavaScript language. PHP 5.6 version is only used for database management development. and using MySQL database management system version 5.6 and phpmyadmin version 4.9, administrators (Admin) and the general public (User) can access it at http://www.phbuu.com/occhealth/index.php/auth/login. After developing a recommendation system for the management of safety, occupational health and working environment for higher education institutions with information technology. The experiment was carried out by comparing the satisfaction of the instructors of the occupational health program with the instructors who were not in the occupational health program with the recommendation system for the management of occupational safety, health and safety at work for higher education institutions. There were no differences in the level of satisfaction of both groups in both groups, both in terms of aspects and overall in the use of the system. This system is suitable for all personnel in higher education institutions as a guideline for managing the safety of the institution from the manual after the initial assessment of the institution's information.en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาการดำเนินงานบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถาบันอุดมศึกษา ตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมสำหรับสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 3) เพื่อพัฒนาระบบแนะนำเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาการดำเนินงานบริหารจัดการความปลอดภัย ฯ ในระยะที่ 1 ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่จบการศึกษาจากสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า และเป็นอาจารย์ประจำในสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า จำนวน 17 คน ด้วยเทคนิคเดลฟาย และกลุ่มตัวอย่างในการประเมินระบบแนะนำ ฯ ในระยะที่ 3 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า และอาจารย์ที่ไม่ได้รับผิดชอบในหลักสูตรอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า ที่ปฏิบัติงานอยู่ในที่เดียวกัน จำนวน 55 คน โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 17 คนในระยะที่ 1 รวมอยู่ด้วย ใช้สถิติ Mann-Whitney U-test วิเคราะห์การเปรียบเทียบความพึงพอใจ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผลศึกษาการดำเนินการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถาบันอุดมศึกษา ด้วยเทคนิคเดลฟาย พบว่าสิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาต้องดำเนินการเพิ่มเติมจากพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 มากที่สุดคือการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในการทำงานมีฉันทามติ ร้อยละ 94.1 และแนวทางที่จะทำให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว คือการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริหารระดับสูง และบุคลากรทุกคนทราบ มีฉันทามติ ร้อยละ 100 เรื่องรูปแบบการบริหารมีความคิดเห็นว่าต้องมีการตั้งหน่วยงานความปลอดภัยในสถาบันอุดมศึกษา มีฉันทามติ ร้อยละ 100 ให้อยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการความปลอดภัย ฯ ที่มาจากผู้บริหารจากทุกหน่วยงานเป็นคณะกรรม มีฉันทามติ ร้อยละ 100 ผลการพัฒนารูปแบบการดำเนินการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ผู้วิจัยพัฒนาคู่มือการดำเนินการบริหารจัดการความปลอดภัยทั้งหมด 4 ฉบับ ในรูปแบบ E – Book  ผ่านการประเมินด้านเนื้อหาและรูปแบบอยู่ในความเหมาะสมระดับมากทั้งสองด้าน = 3.76 และ 4.05 ตามลำดับ ในส่วนของรูปแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ใช้ ภาษาคอมพิวเตอร์ในการแสดงผลของหน้าเว็บไซต์ คือ ภาษา HTML เวอร์ชัน 5, CSS เวอร์ชัน 3 และภาษา JavaScript ใช้ ภาษา PHP เวอร์ชัน 5.6 เท่านั้น ในการพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล และใช้โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL เวอร์ชัน 5.6 และ phpmyadmin เวอร์ชัน 4.9 ผู้ดูแลระบบ (Admin) และบุคคลทั่วไป (User) สามารถเข้าใช้งานได้ที่ http://www.phbuu.com/occhealth/index.php/auth/login หลังจากพัฒนาระบบแนะนำเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำไปทดลองใช้โดยเปรียบเทียบความพึงพอใจอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า กับ อาจารย์ที่ไม่ได้เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า ต่อระบบแนะนำเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงานสำหรับสถาบันอุดมศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีระดับความพึงพอใจทั้งรายด้านและโดยรวมต่อการใช้งานระบบไม่แตกต่างกัน ทำให้ระบบนี้เหมาะสำหรับบุคลากรทุกคนในสถาบันอุดมศึกษา  สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยของสถาบันได้จากคู่มือหลังจากทำการประเมินข้อมูลเบื้องต้นของสถาบันth
dc.language.isoth
dc.publisherBurapha University
dc.rightsBurapha University
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา / การบริหารจัดการ / ความปลอดภัย /ระบบแนะนำth
dc.subjectHIGHER EDUCATION INSTITUTIONS / MANAGEMENT / SAFETY / RECOMENDATION SYSTEMen
dc.subject.classificationEnvironmental Scienceen
dc.titleRECOMMENDATION SYSTEM FOR OCCUPATIONAL SAFETY, HEALTH AND ENVIRONMENT MANAGEMENT FOR HIGHER EDUCATION INSTITUTIONS IN THAILANDen
dc.titleระบบแนะนำเพื่อการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทยth
dc.typeDISSERTATIONen
dc.typeดุษฎีนิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59810079.pdf14.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.