Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/393
Title: FACTORS RELATED TO HEALTH LITERACY FOR HYPERTENSION PREVENTION AMONG AT RISK GROUP IN NADEE DISTRICT, PRACHINBURI PROVINCE
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยง ในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
Authors: Supaporn Mongkolmoo
สุภาพร มงคลหมู่
CHANANDCHIDADUSSADEE TOONSIRI
ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: ปัจจัย
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ
กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง
FACTORS
HEALTH LITERACY
HYPERTENSION RISK GROUP
Issue Date:  26
Publisher: Burapha University
Abstract: Hypertension is a major public health problem. If hypertension risk group has health literacy for hypertension prevention among at risk group, it could reduce the incidence hypertension. This research aimed to identify factors related to health literacy for hypertension prevention among at risk group in Nadee district, Prachinburi province. Multistage random sampling was used to select the sample of 214 people who were at risk of hypertension, lived in the area of Nadee district, Prachinburi province. Research instruments were questionnaires to gather data for demographic information, stress, attitude toward hypertension prevention, relationship between at risk group and provider, access to care and use of health care services, and health literacy. For the data collection, during December, 2020 to January, 2021. Descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation and Point biserial correlation were used to analyze the data. The results revealed that the sample had not good level of health literacy for hypertension prevention (M = 87.23, SD = 21.92). Health literacy for hypertension prevention was significantly correlated with sex (r = .138, p < .05) income (r = .202, p < .05) stress (r = .427, p < .01) relationship between at risk group and provider (r = .242, p < .01) and access to care and use of health care services (r = .242, p < .01). Age, education level and attitude toward hypertension prevention were not significantly correlated with health literacy for hypertension prevention. The findings suggest that nurses and other health care providers could apply these results to develop activities/ programs to enhance health literacy for hypertension prevention by focusing on enhancing relationship between at risk group and provider and access to care and use of health care services.
โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ถ้ากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรค จะสามารถลดการเกิดโรคความโลหิตสูงได้ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของกลุ่มเสี่ยงในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่มีอายุ 15-59 ปี ในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 214 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์ความเครียด แบบสัมภาษณ์เจตคติต่อการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง แบบสัมภาษณ์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเสี่ยงและผู้ให้บริการ แบบสัมภาษณ์การเข้าถึงและใช้บริการทางสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงภาพรวมอยู่ในระดับไม่ดี (M = 87.23, SD = 21.92) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ เพศ (r = .138, p < .05) รายได้ (r = .202, p < .05) ความเครียด (r = .427, p < .01) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและผู้ให้บริการ (r = .242, p < .01) และการเข้าถึงและใช้บริการสุขภาพ (r = .242, p < .01) ส่วน อายุ ระดับการศึกษา และเจตคติต่อการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของกลุ่มเสี่ยง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรนำผลวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโดยเน้นเรื่อง การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเสี่ยงและผู้ให้บริการ รวมทั้งการเข้าถึงและใช้บริการสุขภาพ
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/393
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61920077.pdf3.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.