Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/370
Title: EFFECTS OF THE "I SEE RIGHT SODIUM" PROGRAM ON SODIUM CONSUMPTION BEHAVIOR AMONG UNIVERSITY STUDENTS IN LOWER NORTHERN REGION, THAILAND
ผลของโปรแกรม "รู้รอบ ตอบโซเดียม" ต่อพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย
Authors: Waraporn Youngiam
วราภรณ์ ยังเอี่ยม
PAJAREE ABDULLAKASIM
ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม
Burapha University. Faculty of Public Health
Keywords: ความรอบรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคโซเดียม โปรแกรม นักศึกษา
health literacy/ sodium consumption behavior/ program/ university students
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: This research aims to study the effects of the “I see right sodium” program on sodium consumption behavior among university students in lower northern region, Thailand. A cross-sectional study was employed in phase 1. Data collection was conducted by using an online self-administered questionnaire in 395 first-year students. The result revealed that most of students were female, age average 18.6±0.53 years. Regarding health literacy on sodium consumption, majority of the students had low cognitive skills; they had moderate skills on accessibility to information, communication, self-management, and media literacy; and had high decision-making skills. Results of the Binary Logistic Regression analysis using enter method showed the characteristic factors of the students that affected their high sodium consumption behaviors were love to eat spicy taste food followed by had underweight (BMI < 18.5 kg/m2), and male students. When health literacy on sodium consumption was considered, moderate communication skills had the highest affected on high sodium consumption behaviors followed by low communication skills and low cognitive skills. A quasi-experimental study; three groups using pre-test, post-test, and follow-up was designed to study in phase 2. The sample size was 34-35 students per group. The intervention was implemented for 6 weeks and the 6-weeks for follow-up. Experiment group 1received multiple programs that consisted of workshops and sodium information via the application (S-Apps). Experimental group 2 received sodium information via the application (S-Apps), whereas the comparison group did not participate in any of the aforementioned programs. Repeated Measures ANOVA was used to analyse the program’s effectiveness. The results revealed that the mean different of health literacy on sodium consumption among the three study groups were significantly different. The interaction between the collection times (pre-test, post-test, and follow-up) and the three different groups which produce health literacy regarding sodium and sodium consumption behavior have significantly different effects. The gains from these multiple programs increased health literacy scores about sodium consumption, which allow for positive changes in the sodium consumption behaviors of the experimental group 1. These findings indicated that the effect of the "I see right sodium" program was effective in promoting health literacy regarding sodium and encouraging appropriate sodium consumption behaviors amongst university students.
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรม “รู้รอบ ตอบโซเดียม” ต่อพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย  การศึกษาระยะที่ 1 การวิจัยแบบภาคตัดขวาง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ในนักศึกษาชั้นปี 1 จำนวน 395 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 18.6±0.53 ปี  มีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคโซเดียมและสุขภาพในระดับน้อย การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคโซเดียม การสื่อสารเกี่ยวกับการบริโภคโซเดียม การจัดการตนเองเกี่ยวกับการบริโภคโซเดียม การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศเกี่ยวกับการบริโภคโซเดียมในระดับปานกลาง การตัดสินใจเลือกบริโภคโซเดียมในระดับมาก ความรอบรู้ด้านโภชนาการเกี่ยวกับการบริโภคโซเดียมโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ และมีพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมระดับไม่สูงหรือไม่เสี่ยงต่อสุขภาพ  ผลการวิเคราะห์ด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติกส์แบบทวิ พบว่า ชอบรับประทานอาหารรสจัด มีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ (BMI < 18.5 kg/m2) นักศึกษาชาย การสื่อสารในระดับปานกลาง การสื่อสารในระดับน้อย และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโซเดียมและสุขภาพในระดับน้อย เป็นปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมสูงของนักศึกษา  การศึกษาระยะที่ 2 การวิจัยกึ่งทดลอง 3 กลุ่ม วัดผลก่อนทดลอง หลังทดลอง และระยะติดตามผล จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 34-35 คนต่อกลุ่ม ระยะเวลาเข้าร่วมโปรแกรม 6 สัปดาห์และระยะติดตามผล 6 สัปดาห์ กลุ่มทดลอง 1 ได้รับโปรแกรมรูปแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การเข้าร่วมกิจกรรมและได้รับข้อมูลออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน (S-Apps) กลุ่มทดลอง 2 ได้รับโปรแกรมรูปแบบการให้ข้อมูลออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน (S-Apps) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรมใดๆ วิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านโภชนาการเกี่ยวกับการบริโภคโซเดียมระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาและกลุ่ม คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาและกลุ่ม โดยโปรแกรมรูปแบบผสมผสาน สามารถเพิ่มคะแนนความรอบรู้ด้านโภชนาการเกี่ยวกับการบริโภคโซเดียมและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมของกลุ่มทดลอง 1 ให้ดีขึ้น จึงสรุปได้ว่า ผลของโปรแกรม "รู้รอบ ตอบโซเดียม" มีประสิทธิผลที่ดีในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการเกี่ยวกับการบริโภคโซเดียมและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโซเดียมของนักศึกษาได้    
Description: Doctor Degree of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/370
Appears in Collections:Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61810007.pdf10.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.