Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/369
Title: Factors Affecting Intention to Repurchase Organic Standard Farming Vegetables of Vientiane Consumers.  
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ของผู้บริโภคชาวลาวในเขตพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว
Authors: Samoudthon Sisanonh
SAMOUDTHON SISANONH
VUTTICHAT SOONTHONSMAI
วุฒิชาติ สุนทรสมัย
Burapha University. Faculty of Management and Tourism
Keywords: ความตั้งใจซื้อซ้ำ/ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อ/ ทัศนคติ/ มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์
Repurchase Intention / Factors Affecting Purchase Intention / Attitude / Organic Farming Standards
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: The objectives of this research were to study the factors affecting the purchase repetition intention, to study the attitudes affecting the purchase repetition intention, and to compare the difference of level of opinion in terms of personal factors affecting the purchase repetition intention of standard organic farming vegetables among Laos consumers in Vientiane, the Lao People's Democratic Republic. This study was a survey research with 400 consumers of standard organic farming vegetables as a sample group with purposive sampling method. The research instrument for gathering the data was an online questionnaire via Google form. The statistical methods for analyzing data were percentage, standard deviation, and multiple regression analysis. The research found that most respondents were women ranging from 20–30 years old, graduating bachelor’s degree, working as government officials, and averagely earning more than 2,400,000 kip. The personal factors including gender, age, career, level of education, and salary did not affect the consumers’ purchase repetition intention of standard organic farming vegetables. The opinions in terms of factors leading to the positive purchase repetition intention of standard organic farming vegetables were location factor, pricing recognition factor, and cleanliness and safety factor, respectively. The factor leading to the negative purchase repetition intention of standard organic farming vegetables was facilities factor.  In terms of the consumers’ attitudes toward the repurchase​ intention of standard organic farming vegetables, it was found that the consumer’s personal satisfaction attitude, the product’s benefit attitude, and the purchase incentive attitude, respectively, highly affected the purchase repetition intention.  However, the knowledge of standard organic farming vegetables did not affect the purchase repetition intention. This research could be applied as new knowledge in the study of consumption behavior prediction and the Repurchase intention of standard organic farming vegetables among Laos consumers in Vientiane, the Lao People's Democratic Republic.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ เพื่อศึกษาทัศนคติที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ และ เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคิดเห็นด้านปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ ของผู้บริโภคชาวลาวในเขตพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เคยบริโภคผักที่ได้มาตรฐานอินทรีย์ จำนวน 400 คน โดยเลือกการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบออนไลน์ (Online Questionnaire ผ่าน Google Form) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมาการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอยุระหว่าง 20 – 30 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 2.400.000 กีบ ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้ ไม่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ของผู้บริโภค และมีความคิดเห็นในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อส่งผลทางบวกต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ ได้แก่ ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง รองลงมาคือด้านการรับรู้ราคา และด้านความสะอาดและปลอดภัย และปัจจัยที่ส่งผลทางลบต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งอำนวยความสะดวก แสดงว่าผลลัพธ์ที่ได้ไปในทางตรงกันข้ามกับสมมติฐานที่วางไว้ ในด้านของทัศนคติของทัศนคติของผู้บริโภคส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ พบว่า ทัศนคติด้านความพึงพอใจส่วนตัวของผู้บริโภคมาก รองลงมาคือ ทัศนคติต่อคุณประโยชน์ที่จะได้รับ และด้านแรงจูงใจในการซื้อ แต่ด้านของความรู้เกี่ยวกับผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์กลับไม่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อซ้ำ โดยผลการศึกษาฉบับนี้สามารถใช้เป็นความรู้ใหม่ในการศึกษาเกี่ยวกับการทำนายพฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมความตั้งใจซื้อซ้ำผักที่ได้มาตรฐานเกษตรกรรมอินทรีย์ของผู้บริโภคชาวลาวในเขตพื้นที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาวได้
Description: Master Degree of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/369
Appears in Collections:Faculty of Management and Tourism

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920160.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.