Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/365
Title: THE SERVICE QUALITY OF BAN BUENG MUNICIPALITY CHON BURI PROVINCE
คุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี
Authors: Parintorn Chaicumjun
ปรินทร ไชยคำจันทร์
PONGSATEAN LUENGALONGKOT
พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต
Burapha University. Graduate School of Public Administration
Keywords: คุณภาพบริการ
เทศบาล
ชลบุรี
QUALITY
SERVICE
OPINION
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: The research, “Quality of Services of Ban Beung Municipality, Chonburi Province”, aims to study public opinions concerning the earlier mentioned service quality and compare those opinions with the service under different variables, namely gender, age, educational levels, occupations and income. The sampling of the research includes 393 local people living in the area of Ban Beung municipality who were classified as those who use services provided by the municipal office. The major tool for data collection was a questionnaire and statistics used for data analysis included frequency, percentage, standard deviation and average. Both the t-Test and One-Way ANOVA were employed to compare differences among 3 groups of independent variables or over. In case the researcher found any statistically significant differences at the level of .05, a double difference test was introduced according to the Least significant difference test (LSD) test. The results showed that 1. In terms of the levels of opinions of local people concerning service quality provided by the Ban Beung Municipality, Chonburi, the opinions were at the level of very good. If individual perspectives were taken into account, local people ranked facilities at the Municipality as the first, followed by the municipal staff, equal service providing, processes of service providing and channels of service providing respectively. 2. In terms of results of comparison of public opinions relating quality of services provided by the Ban Beung Municipality, different gender, age, educational levels, occupations and income of local people affected result in different opinions on the service quality at the statistically significant level of .05.
การวิจัยเรื่อง คุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้  กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองบ้านบึงที่มาใช้บริการ จำนวน 393 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติ t-Test และใช้สถิติ One -way ANOVA สำหรับเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มีตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ผู้วิจัยทำการทดสอบหาความแตกต่างรายคู่ โดยใช้วิธีของ Least significant difference test (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี พบว่า โดยภาพรวมระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี อยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค  ด้านกระบวนการขั้นตอนการให้บริการ และลำดับสุดท้ายคือ ด้านช่องทางการให้บริการ  2. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึง พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อคุณภาพบริการของเทศบาลเมืองบ้านบึง จังหวัดชลบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Description: Master Degree of Public Administration (M.P.A.)
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/365
Appears in Collections:Faculty of Graduate School of Public Administration

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62930006.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.