Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/334
Title: APPLYING OF LEAN CONCEPT TO INCREASE THE EFFICIENCY OF PRODUCTION MOLDING PROCESS: A CASE STUDY OF ABC CO., LTD
แนวทางการประยุกต์ใช้แนวคิดลีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแผนกผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ บริษัท ABC
Authors: Nalisa Wapeetho
นลิษา วาปีโท
SAKCHAI CHANROUNG
ศักดิ์ชาย จันทร์เรือง
Burapha University. Graduate School of Commerce
Keywords: ลีน
การผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์
LEAN
PRODUCTION MOLDING PROCESS
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: This is dissertation qualitative research in term of in-depth interview among target group including 16 main informants : senior management, supervisors, operational employee relating to the management manufacturing of mold parts of ABC Co., Ltd. which aims to apply lean thinking to analyze the waste that occurs in the manufacturing of molded parts with the attempts to increase efficiency in work flow process. The findings reveal that the manufacturing of molded parts there were totally 4 wastes Non-Utilized Talent, Defects, Waiting and Excess Processing. The root causes found in production molding process that was mostly related to employee, machine, work process and equipment with the aim of improving the process by ECRS principle which consists of 1.Eliminate that EDM process should be improvement by reduce manufacturing waste time for line balancing process 2.Combine there should be a clearly definition role and responsibilities and communication improvement 3.Rearrange there should be a training plan for skill up employee and monitoring regularly and expand to another process by cross skill 4.Simplify there should be defined KPI  transparency ensure everyone is working in the same goal to develop and further continuous improvement.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงาน การผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ บริษัท ABC จำกัด จำนวน 16 คน ประกอบด้วย หัวหน้างาน พนักงานฝ่ายปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อนำแนวคิดแบบลีนมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ เพื่อศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า กระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์มีปัญหาความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นทั้งหมด 4 ความสูญเปล่าคือ 1.ความสูญเปล่าที่เกิดจากการใช้คน (Non-Utilized Talent) 2.ความสูญเปล่าที่เกิดจากการผลิตของเสีย (Defects) 3. เป็นความสูญเปล่าที่เกิดจากการรอคอย (Waiting) 4. ความสูญเปล่าที่เกิดจากกระบวนการทำงานซ้ำซ้อน (Excess Processing) โดยพบว่ามีรากสาเหตุมาจากทั้งทางด้านคน ด้านครื่องจักร ด้านกระบวนการทำงาน และด้านวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งแนวทางการปรับปรุงกระบวนการทำงานของแผนกสร้างชิ้นส่วนแม่พิมพ์พลาสติกด้วยหลัก ECRS พบว่าอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ 1.ด้านการกำจัด (Eliminate) ควรลดการทำงานด้วยกระบวนการ EDM ที่มากเกินไป โดยปรับปรุงกระบวนการทำงาน EDM ให้มีการกระจายงานไปยังกระบวนการอื่นที่สามารถทดแทนการ EDM ได้ เพื่อเพิ่มสมดุลการผลิตให้กับภาพรวมของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์  2.ด้านการรวมกัน (Combine) ควรมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในกิจกรรมให้ชัดเจน และมีการบันทึกข้อตกลงหลังปรึกษาหารือเพื่อป้องกันการสื่อสารที่ตกหล่นสำหรับทีมงานทุกคน 3.ด้านการจัดใหม่ (Rearrange) ควรมีการจัดแผนการฝึกอบรบทักษะความรู้ให้กับพนักงานปฏิบัติงาน จากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญ มีการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเทคนิคหรือทักษะความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ได้ดีขึ้นและช่วยเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัยให้กับพนักงานปฏิบัติงาน และขยายผลไปยังกระบวนการทำงานอื่นๆ เพื่อพัฒนาความสามารถของทีมให้สามารถทำงานแทนกันได้ ด้วยการ Cross skill และ 4. การทำให้ง่าย (Simplify) ควรมีการกำหนด KPI ของแผนกผลิตชิ้นส่วนแม่พิมพ์ที่ตรงและแสดงผลออกมาได้อย่างชัดเจน ทำให้มองเห็นง่ายและเข้าใจง่าย จากนั้นต้องมีการติดตามดูผล เพื่อพัฒนาปรับปรุงร่วมกันต่อไป
Description: Master Degree of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/334
Appears in Collections:Faculty of Graduate School of Commerce

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62710026.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.