Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/328
Title: MATHEMATICAL MODELING FOR JOB SHOP SCHEDULING PROBLEM:A CASE STUDY OF AUTOMOTIVE PART FACTORY
การจัดตารางการผลิตโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ :กรณีศึกษาโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
Authors: Panjarat Phaettho
ปัญจรัศม์ แพทย์โท
SAOWANIT LEKHAVAT
เสาวนิตย์ เลขวัต
Burapha University. Faculty of Logistics
Keywords: เวลาในการผลิตสินค้า
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
การจัดลำดับการผลิต
CYCLE TIME
OVERALL EQUIPMENT EFFECTIVENESS
JOB SHOP SCHEDULING
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: This paper addresses a workforce planning problem of production especially daily production scheduling of automotive part manufacturing. Currently, daily production scheduling is prepared by scheduler’s experience which causes long waiting time and error. This error is impacted delivery goods to customer. This research uses the optimization modeling to help the scheduler preparing daily production schedule by using open solver software in excel sheet to program. The importance input data e.g. machine capacity, product constrain for analyzing to get high efficiency of production scheduling by shorten processing time. The results show that a reduction of working time was decreased 73.99 hrs. or 3 days (11.32%) in May 2021 and the working time can be decreased 21.72 hrs. or 1 day (2.83%) in July 2021 
งานวิจัยนี้ได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการวางแผนการผลิต โดยเฉพาะการจัดลำดับการผลิตประจำวันของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันการจัดลำดับการผลิตจะดำเนินการโดยอาศัยความชำนาญของพนักงาน ซึ่งก่อให้เกิดระยะเวลารอคอยในกระบวนการมากเนื่องจากการวางแผนการผลิตใช้เวลานาน และในบางครั้งก็ก่อให้เกิดความผิดพลาดในการจัดลำดับการผลิต ทำให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อการจัดส่งสินค้า ผู้วิจัยจึงเลือกที่จะนำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของการจัดลำดับงาน (Job shop scheduling problem) ไปใช้เพื่อช่วยตัดสินใจในการจัดลำดับการผลิต โดยใช้ Solver ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภท Add-in ใน Microsoft Excel เพื่อทำการเขียนโปรแกรมโดยนำเอาข้อมูลต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการผลิตของเครื่องจักร (machine capacity) และข้อจำกัดต่าง ๆ ของผลิตภัณฑ์ (constraints) เป็นต้น มาทำการวิเคราะห์เพื่อให้สามารถทำการวางแผนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและใช้เวลาให้การทำงานต่ำที่สุด ซึ่งผลการศึกษาโดยการเปรียบเทียบวิธีการจัดลำดับงานในปัจจุบันด้วย วิธีฮิวริสติก (Heuristic) และวิธีการจัดลำดับงานด้วยการใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์พบว่า สามารถลดเวลาในการผลิตในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564ได้ 73.99 ชั่วโมงหรือประมาณ 3 วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 11.32 สามารถลดเวลาในการผลิตในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2564 ได้ 21.72 ชั่วโมงหรือประมาณ 1 วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.83 
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/328
Appears in Collections:Faculty of Logistics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920300.pdf2.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.