Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/325
Title: FACTORS INFLUENCING HEALTH BEHAVIORS IN ADULTS WITH ACUTE CORONARY SYNDROME POST PERCUTANEOUS CORONARY INTERVENTION
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพในผู้ใหญ่ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภายหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ
Authors: Aeckapholpholladet Detkaew
เอกพลพลเดช เดชแก้ว
NIPHAWAN SAMARTKIT
นิภาวรรณ สามารถกิจ
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: พฤติกรรมสุขภาพ
ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ผู้ใหญ่
การรับรู้สมรรถนะแห่งตน
การสนับสนุนทางสังคม
ความเครียดในการดำเนินชีวิต
HEALTH BEHAVIORS
ACUTE CORONARY SYNDROME
ADULTS
PERCEIVED SELF-EFFICACY
SOCIAL SUPPORT
LIFESTYLE STRESS
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: This descriptive, predictive research aimed to examine health behaviors and factors influencing health behaviors. The sample was 107 adults with acute coronary syndrome 6-12 mounts post percutaneous coronary intervention, who routinely followed up at the outpatient department, Ramathibodi Hospital, Bangkok. Samples were recruited into this study by setting the time period. Data were collected during December 2020 and March 2021. Instruments included demographic record form, the Cardiac Health Behavior Scale, the General Perceived Self-Efficacy Scale, the Social Support of People with Coronary Heart Disease instrument, and the Perceived Stress Scale. Reliabilities were .85, .87, .95, and .85, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression statistics.                   The results showed that the sample had an average health behaviors score that often performed coronary heart disease preventive behaviors (M = 3.06, SD = 0.38). Perceived self-efficacy were the best influencing factor on health behaviors in this group of adults (β = .401, p < .001), followed by social support (β = .267, p = .001) and lifestyle stress (β = -.270, p = .001). These three predictors explained 63.51% of the variance in health behaviors (R2 = .6351, F = 59.75, p < .001). The findings suggest that nurses should design programs for these adults to help them modify health behaviors by promoting their perceived self-efficacy, social support, and reducing lifestyle stress for preventing recurrent acute coronary syndrome.
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ภายหลังได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ 6-12 เดือน ณ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการกำหนดช่วงเวลา เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึง เดือนมีนาคม  พ.ศ. 2564 จำนวน 107 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคหัวใจ แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ และแบบสอบถามความเครียดในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีค่า สัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค .85, .87, .95 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน                     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง (M = 3.06, SD = 0.38) การรับรู้สมรรถนะแห่งตนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพในผู้ใหญ่กลุ่มนี้มากที่สุด (β = .401, p < .001) รองลงมาคือ การสนับสนุนทางสังคม (β = .267,p = .001) และความเครียดในการดำเนินชีวิต (β = -.270, p = .001) ซึ่งทั้งสามปัจจัยสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมสุขภาพ ได้ถึงร้อยละ 63.51 (R2 = .6351, F = 59.75, p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า พยาบาลควรนำผลการศึกษาดังกล่าวไปออกแบบการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเน้นการเพิ่ม การรับรู้สมรรถนะแห่งตน เพิ่มการสนับสนุนทางสังคม และลดความเครียดในการดำเนินชีวิต ในผู้ใหญ่กลุ่มนี้เพื่อป้องกันการกลับเป็นภาวะหัวใจขาดเลือดซ้ำ
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/325
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61910044.pdf6.81 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.