Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/315
Title: The Relationship Between Information Perception, Image and Tourism Behavior Towards Phanatnikhom Wicker Community Among Thai Tourists
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสาร ภาพลักษณ์ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมของนักท่องเที่ยวชาวไทย
Authors: Preechaya Jaroensetthakul
ปรีชญา เจริญเศรษฐกุล
WORATHUM PONGSEECHOMPOO
วรธรรม พงษ์สีชมพู
Burapha University. Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: การรับรู้ข่าวสาร
ภาพลักษณ์การท่องเที่ยว
พฤติกรรมการท่องเที่ยว
Information Perception
Image
Tourism behavior
Issue Date:  15
Publisher: Burapha University
Abstract: The Relationship Between Information Perception Image And Tourism Behavior Towards Phanatnikhom Wicker Community Among Thai Tourists. The objectives of the research are as follow: 1) To study information perception, image and tourism behavior towards Phanatnikhom wicker community among thai tourists. 2) To compare information perception about Phanatnikhom wicker community among thai tourists classifield by demographic characteristics. 3) To compare image about Phanatnikhom wicker community among thai tourists classifield by demographic characteristics. 4) To compare tourism behavior towards Phanatnikhom wicker community among thai tourists classifield by demographic characteristics. 5) To study the relationship between information perception and tourism behavior towards Phanatnikhom wicker community among thai tourists. 6) To study the relationship between image and tourism behavior towards Phanatnikhom wicker community among thai tourists. The sample consisted are thai tourist traveling to the Phanatnikhom wicker community by using 400 people with accidental sampling , the tools used in the research were the questionnaires analyzed by using the SPSS statistics program, Pearson's correlation, coefficient analysis and Chi-square value analysis. The results of the research revealed that 1) Most Thai tourists are 21-30 year old females with an income of 20,000-25,000 Baht and level of education lower than bachelor's degree, are employed, and mostly live in the Eastern region. Their information on Phanatnikhom wicker community tourism was at a low level while the image of Phanatnikhom wicker community tourism was at the highest level. As for tourism behavior in traveling to the Phanatnikhom community is done by personal vehicles with friends. The number of trips in a year is 1 time during 11.01 AM - 2:00 PM, with a span of 1-2 hours for tourism on Saturday. The budget for purchases is less than 1,000 baht which are wickers that are used as a container. The purpose of tourism is aimed for relaxation and there is a desire to return to the Phanatnikhom community for tourism again. 2) Gender, income, level of education, occupation, and current resident of Thai tourists varies. There are different perceptions on receiving information on the Phanatnikhom wicker community and the age of Thai tourists was positively related to the perception of information of the Phanatnikhom wicker community. 3) The gender of Thai tourists varies but their perception towards tourism of the Phanatnikhom wicker community is not different. As for their income, level of education, occupation and current resident of the Thai tourists varies. The age of Thai tourists was positively related to the image towards the Phanatnikhom wicker community. 4) The age of tourists had a negative relation to tourism behavior in the objection to the number of visits. The level of education of Thai tourists and the tourism behavior of the Phanatnikhom wicker community is not related to the objective of Thai tourists visiting the Phanatnikhom wicker community. The income of Thai tourists vary and their tourism behavior for purchasing goods is different. 5) The information perceived on the Phanatnikhom wicker community has a positive relationship with their tourism behavior in the Phanatnikhom wicker community on the number of trips and duration of visitation. 6) The image of Phanatnikhom wicker community tourism was positively correlated with the tourism behavior in the Phanatnikhom wicker community in terms of the number of trips and budget spent for purchasing goods.
การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสาร ภาพลักษณ์ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมของนักท่องเที่ยวชาวไทย มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสาร ภาพลักษณ์ และพฤติกรรมการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมของนักท่องเที่ยวชาวไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับชุมชนจักสานพนัสนิคมของนักท่องเที่ยวชาวไทย จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์การท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมของนักท่องเที่ยวชาวไทย จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ 4) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมของนักท่องเที่ยวชาวไทย จำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ 5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรับรู้ข่าวสารกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมของนักท่องเที่ยวชาวไทย 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคม อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 21 – 30 ปี รายได้ 20,000 – 25,000 บาท ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับจ้าง และอาศัยอยู่ในภาคตะวันออกมากที่สุด มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมภาพรวมอยู่ในระดับน้อย  มีภาพลักษณ์การท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนพฤติกรรมการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมส่วนใหญ่มีวิธีการเดินทางมาท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนตัว เดินทางมากับเพื่อน จำนวนครั้งที่เดินทางมาในรอบ 1 ปี มากที่สุด 1 ครั้ง ในช่วงเวลา 11.01 น. - 14.00 น. ใช้เวลาในการท่องเที่ยว 1 – 2 ชั่วโมง เดินทางมาท่องเที่ยววันเสาร์ ใช้งบประมาณในการซื้อสินค้าต่ำกว่า 1,000 บาท เป็นเครื่องจักสานที่ใช้เป็นภาชนะ โดยมีวัตถุประสงค์ในการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน และมีความต้องการกลับมาเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมอีก 2) เพศ รายได้ ระดับการศึกษา อาชีพ และที่อยู่อาศัยปัจจุบันแตกต่างกันมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับชุมชนจักสานพนัสนิคมแตกต่างกัน และอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับชุมชนจักสานพนัสนิคม 3) เพศแตกต่างกันมีภาพลักษณ์การท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนรายได้ ระดับการศึกษา อาชีพ และที่อยู่อาศัยปัจจุบันแตกต่างกันมีภาพลักษณ์การท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมแตกต่างกัน อายุมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคม 4) อายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวด้านจำนวนครั้งในการเดินทางมาท่องเที่ยว ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมด้านวันที่เดินทางมาท่องเที่ยวและไม่มีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการเดินทางมาท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคม รายได้แตกต่างกันมีพฤติกรรมการท่องเที่ยวด้านงบประมาณในการซื้อสินค้าแตกต่างกัน 5) การรับรู้ข่าวสารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมด้านจำนวนครั้ง ระยะเวลาที่ใช้ในการท่องเที่ยว 6) ภาพลักษณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวชุมชนจักสานพนัสนิคมด้านจำนวนครั้งในการเดินทางมาท่องเที่ยว และงบประมาณในการซื้อสินค้า
Description: Master Degree of Communication Arts (M.Com.Arts)
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (นศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/315
Appears in Collections:Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61920240.pdf2.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.