Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/265
Title: EFFECTS OF SELF-MANAGEMENT PROGRAM ON WEIGHT CONTROL BEHAVIOR AND APPROPRIATE WEIGHT GAIN IN OVERWEIGHT OR OBESE PREGNANT WOMEN
ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักและการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตามเกณฑ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
Authors: Thitima Karabutr
ฐิติมา คาระบุตร
TATIRAT TACHASUKSRI
ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
Burapha University. Faculty of Nursing
Keywords: หญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน
โปรแกรมการจัดการตนเอง
พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก
การเพิ่มขึ้นของน้ำหนักในขณะตั้งครรภ์
OVERWEIGHT OR OBESITY PREGNANT WOMEN
SELF-MANAGEMENT PROGRAM
WEIGHT CONTROL BEHAVIOR
GESTATIONAL WEIGHT GAIN
Issue Date:  12
Publisher: Burapha University
Abstract: Self-management is an important process to improve weight control behavior and appropriate weight gain among overweight or obese pregnant women. This pretest-posttest, quasi-experimental research aimed to evaluate the effects of self- management program on weight control behavior and appropriate weight gain in overweight or obesity pregnant women. Participants consisted of 50 overweight or obesity pregnant women who received antenatal care services at Jainad Narendra hospital from September 2020-January 2021. Sample who met into the inclusion criteria, were randomly sampled into either experimental group (n = 25) and control group (n = 25). Data were collected by using self-administered weight control behavior questionnaire with content validity index of 1.00. and Cronbach’s alpha coefficient of 0.87. Data were analyzed by using descriptive statistics, Chi-square, Fisher’s Exact test, Mann-Whitney U and t-test. The results revealed that the experimental group had significantly higher mean score of weight control behavior than those in the control group (t48 = 3.91, p < .001). Additionally, the participants in the experimental group had the proportion of normal weight gain significantly higher than those in the control group (X2 = 15.71, p < .001). The study findings suggest that nurses in antenatal care unit could apply this self-management program to encourage the overweight or obese pregnant women control their diet and exercise behavior and weight gain.
การจัดการตนเองเป็นกระบวนการสำคัญที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักและการเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก และการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตามเกณฑ์ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน กลุ่มตัวอย่าง คือ หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน ก่อนการตั้งครรภ์ จำนวน 50 ราย เข้ารับการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2564 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติตามเกณฑ์ และ สุ่มอย่างง่ายจำนวนกลุ่มละ 25 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนัก มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity Index, [CVI]) เท่ากับ 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค (Cronbach’s Alpha coefficient) เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา Chi-square, Fisher’s Exact test, Mann-Whitney U และ t-test ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t48 =3.91, p < .001) และมีสัดส่วนของหญิงตั้งครรภ์ที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (X2= 15.71, p < .001) ผลการศึกษานี้เสนอแนะให้พยาบาลแผนกฝากครรภ์สามารถนำโปรแกรมการจัดการตนเองไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักเตามเกณฑ์ที่กำหนด
Description: Master Degree of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/265
Appears in Collections:Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61920063.pdf5.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.