Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/231
Title: EFFECTIVENESS OF GARLIC EXTRACT ON BLOOD LEAD LEVEL OF BATTERY FACTORY'S EMPLOYEES IN SAMUT PRAKAN PROVINCE
ประสิทธิผลของสารสกัดกระเทียมต่อระดับตะกั่วในเลือดของพนักงานฝ่ายผลิตโรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ
Authors: Ueampohn Poonkla
เอื้อมพร พูนกล้า
ANAMAI THETKATHUEK
อนามัย เทศกะทึก
Burapha University. Faculty of Public Health
Keywords: สารสกัดกระเทียม
ตะกั่วในเลือด
โรงงานผลิตแบตเตอรี่
อาชีวเวชศาสตร์
เฝ้าระวังสุขภาพ
ผู้ทำงานสัมผัสตะกั่ว
GARLIC EXTRACT
BLOOD LEAD LEVEL
LEAD BATTERY PLANT
OCCUPATIONAL MEDICINE
MEDICAL SURVEILLANCE
LEAD EXPOSED WORKER
Issue Date:  12
Publisher: Burapha University
Abstract:                The objective of this study is to evaluate the efficacy of garlic extract on blood lead levels of lead exposure workers. The participants in this study were production line workers in a battery factory in Samut Prakan province. The data collection tools consist of personal questionnaires, data record forms and blood specimen collection for lead levels. The participants consisted of 90 production line workers. The method of this study was before starting the experiment, all subjects were required to fill out their personal information and to determine baseline blood lead assessments then classified into three groups (n=30 per group). Group one was a control group (the participants took a placebo), the others two groups were experimental groups (900 mg and 1200 mg garlic extract). Each group was allowed to intake garlic extract continuously for 14 days.                      The results were found that the reduction of blood lead levels after taking garlic extract 900 mg per day was statistically significant (p = 0.044) whereas blood lead levels for taking 1200 mg of garlic extract per day were not different. However, mean differences in blood lead levels of the garlic extract and control groups were not different.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของสารสกัดกระเทียมต่อระดับตะกั่วในเลือดของผู้ประกอบอาชีพที่รับสัมผัสกับสารตะกั่ว การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามส่วนบุคคล แบบบันทึกข้อมูลการรับประทานยา แบบบันทึกข้อมูลผลข้างเคียงจากการรับประทานยา และแบบบันทึกข้อมูลการใช้สมุนไพรอื่นที่อาจมีผลต่อการวิจัย สำหรับการวิเคราะห์หาปริมาณระดับตะกั่วในเลือดใช้หลอดเก็บตัวอย่างที่มีส่วนผสมของสารกันเลือดแข็ง (EDTA) ตรวจด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตแบตเตอรี่แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 90 ราย วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ ก่อนเริ่มทดลองโดยให้ผู้เข้าร่วมวิจัยทุกรายตอบแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและตรวจวัดระดับตะกั่วในเลือดเพื่อเป็นค่าพื้นฐาน (Baseline) จากนั้นจำแนกกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ราย คือ กลุ่มที่ 1) กลุ่มควบคุม ให้รับประทานยาหลอก กลุ่มที่ 2) กลุ่มทดลอง ให้รับประทานสารสกัดกระเทียมปริมาณ 900 มิลลิกรัมต่อวัน และกลุ่มที่ 3) กลุ่มทดลอง ให้รับประทานสารสกัดกระเทียมปริมาณ 1200 มิลลิกรัมต่อวัน ผู้เข้าร่วมวิจัยแต่ละกลุ่มจะได้รับแจกยาจำนวน 42 เม็ดโดยไม่ทราบว่าเป็นยาชนิดใดและรับประทานสารสกัดกระเทียม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 14 วัน จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมวิจัยจะเจาะเลือดซ้ำอีกครั้ง เพื่อตรวจวัดความเปลี่ยนแปลงของระดับตะกั่วในเลือด ผลการวิจัยพบว่า ระดับตะกั่วในเลือดหลังการรับประทานสารสกัดกระเทียม 900 มิลลิกรัมต่อวัน ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.044) ในขณะที่ความเปลี่ยนแปลงระดับตะกั่วในเลือดหลังการรับประทานยาหลอกและสารสกัดกระเทียม 1200 มิลลิกรัมต่อวันไม่แตกต่างกัน ซึ่งเมื่อทำการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระดับตะกั่วในเลือดระหว่างกลุ่มที่รับประทานสารสกัดกระเทียมเข้มข้น 1200 มิลลิกรัมต่อวัน กับกลุ่มที่รับประทานสารสกัดกระเทียมเข้มข้น 900 มิลลิกรัมต่อวันและกลุ่มที่รับประทานยาหลอก พบว่า ไม่แตกต่างกัน เช่นเดียวกันไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงระดับตะกั่วในของกลุ่มที่รับประทานสารสกัดกระเทียม 900 มิลลิกรัมต่อวันกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/231
Appears in Collections:Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61920021.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.