Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/228
Title: WAREHOUSE SERVICE PROVIDERS SELECTION BASED ON GIS: A CASE STUDY OF AN AUTOMOTIVE PARTS MANUFACTURER 
การเลือกคลังสินค้าของผู้ให้บริการโลจิสติกส์โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
Authors: Chayut Tubtieng
ชยุต ทับเที่ยง
JUTHATHIP SURARAKSA
จุฑาทิพย์ สุรารักษ์
Burapha University. Faculty of Logistics
Keywords: ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์/ การขนส่ง/ คลังสินค้า/ การเลือกคลังสินค้า
GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEM: GIS/ TRANSPORT/ WAREHOUSE SELECTION/ WAREHOUSE
Issue Date:  25
Publisher: Burapha University
Abstract: The research aims to; 1) compare the distance, time, and cost of the logistics from each warehouse carrier and, 2) select the warehouse from a suitable logistics operator for the case study company. This research applied a geographic information system to analyze the locations of 4 warehouse carriers selected by the case study company. By specifying the conditions for selecting a logistics operator based on the shortest transport distance and the least transport period. The result revealed that the selection of warehouse carrier D for inbound cargo and warehouse carrier a for the outbound cargo had the total shortest transport distance at 1,648.71 kilometers and the total transport period was 3,706.12 minutes. The comparison with the current selection of logistics operators, it was found that the case studied company selected logistics service from only warehouse A. Therefore, the case studied company could reduce the total transport distance by 849.96 kilometers and the total transport period is reduced by 983.79 minutes. It can also reduce the cost of inbound - outbound transportation by 32,555.00 baht. Since considered only the cost of both inbound - outbound transportation, the selection of logistics operators from warehouse D had the lowest transportation costs. The suitable selection of warehouse carriers will help the case studied company to manage both inbound and outbound shipments more quickly. And it can be conducted as a guideline in determining warehouse selection in the future.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระยะทาง เวลา และต้นทุน ของการขนส่งสินค้าของผู้ให้บริการคลังสินค้าของแต่ละบริษัท 2) เพื่อเลือกคลังสินค้า ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ที่มีความเหมาะสมกับบริษัทกรณีศึกษา งานวิจัยนี้ ประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งของผู้ให้บริการคลังสินค้าที่บริษัทกรณีศึกษาคัดเลือกไว้ทั้งหมด 4 คลังสินค้า โดยกำหนดเงื่อนไขการเลือกผู้ให้บริการโลจิสติกส์จากระยะทางการขนส่งที่สั้นที่สุดและเงื่อนไขระยะเวลาน้อยที่สุด ผลการวิจัย พบว่า การเลือกใช้บริการคลังสินค้า D ในการขนส่งสินค้าขาเข้า และใช้บริการคลังสินค้า A ในการขนส่งสินค้าขาออก มีระยะทางรวมสั้นที่สุดเท่ากับ 1,648.71 กิโลเมตร และระยะเวลารวมน้อยที่สุดเท่ากับ 3,706.12 นาที ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเลือกใช้ผู้ให้บริการในปัจจุบัน พบว่า บริษัทกรณีศึกษาเลือกใช้บริการคลังสินค้า A เพียงรายเดียว ดังนั้น บริษัทกรณีศึกษาจะสามารถลดระยะทางรวมได้ 849.96 กิโลเมตร และลดเวลารวม 983.79 นาที นอกจากนี้ ยังสามารถลดต้นทุนการขนส่งขาเข้า - ขาออกได้ 32,555.00 บาท แต่เมื่อพิจารณาเฉพาะต้นทุนการขนส่งทั้งขาเข้า - ขาออกนั้น การเลือกใช้บริการคลังสินค้า D เพียงรายเดียว จะมีต้นทุนการขนส่งต่ำที่สุด ดังนั้น การเลือกคลังสินค้าที่เหมาะสม จะช่วยให้บริษัทกรณีศึกษาสามารถบริหารการจัดส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาการเลือกคลังสินค้าในอนาคต
Description: Master Degree of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/228
Appears in Collections:Faculty of Logistics

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62920277.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.