Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/214
Title: EMPLOYEE RETENTION STRATEGIES FOR PRODUCTION ENGINEER IN AUTOMATION MANUFACTURING INDUSTRY
กลยุทธ์การธำรงรักษาพนักงานฝ่ายวิศวกรรมการผลิต ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอัตโนมัติ
Authors: Suteekarn Thanaprasit
สุธีกานต์ ฐานะประสิทธิ์
NOPPADON DEJPRASERT
นพดล เดชประเสริฐ
Burapha University. Graduate School of Commerce
Keywords: การธำรงรักษาพนักงาน
การคงอยู่
EMPLOYEE RETENTION
INTENTION TO STAY
Issue Date:  22
Publisher: Burapha University
Abstract: This research conducted by mixed-methods research, which is the combination of qualitative research, quantitative research, and focuses group discussion. The researcher divided the research process into 3 processes. For the first step of the researching process is conducting research using a concurrent parallel design which contains two types. Frist is qualitative researching that have objectives to study the positive perspective of manager that effect to the intention to stay with the organization and implement by in-depth interview management of the production engineering department in the automation manufacturing sector for 8 people, used semi-structured interviews is a tool to collect data. Second is a quantitative research that has objective to study the influence from retention factor that effect to employees' intention to stay and implement by sample the group of staff and senior staff for 200 people at the production engineering department in the automation manufacturing, used questionnaires to collect data and analyses by descriptive statistics, Inferential statistic and Enter Multiple Regression Analysis. The second step researching is using of information obtained from the first step to support focus group discussions and develop strategies for employee retention, the sample group consisted of staff, senior staff and Manager for 68 people at the production engineering department in the automation manufacturing. After the results of the group discussions were obtained, SONEAR was analyzed to create a policy and strategy for employee retention. The third step of researching is quantitative Research which is survey research to study employees’ satisfaction with practical implementation. The samples were employees from the staff level, senior staff and manager of the production engineering department in the automation manufacturing for 100 people. Using questionnaires to collect data and the statistics used in the analyses were descriptive statistics. The research results (1) Test results show that independent variables employee retention influence intention of employee to stay in the organization with statistical significance of 0.05 (2) From the results of in-depth interviews, Positive perspectives of manager which is effective to retentiveness, in sample organization are 1) good teamwork, 2) perfection in performing a good supervisor’s role and 3) successfulness on an assigned task. (3) From the results of the focus group discussion, Stakeholders develop retention strategies in 6 aspects, consisted of 1) work and life balance, 2) compensation and benefit, 3) growth and earning potential of career path, 4) training and development, 5) work environment and 6) supervisor’s role. (4) Employee satisfaction survey results, Employees highly satisfy with retention policy. (5) Result of employee retention research can be formulated to new guidance to retain production engineer employee in automated manufacturing. This new guidance is the results from organization member’s idea which is called “2M1W model” contain three main areas including M (Man), W (Work), and M (Motivation) and four intersection area including skill, challenge, opportunity, retention. Integration of these three main areas and intersection area are used for strategic planning of the sample organization.
การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method research) โดยใช้วิธีวิจัยแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ซึ่งผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนการดำเนินการวิจัยออกเป็น 3 กระบวนการวิจัย สำหรับกระบวนการวิจัยขั้นที่ 1 ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีวิจัยผสมผสาน แบบคู่ขนาน (Concurrent Parallel Design) โดยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการทำเพื่อค้นหามุมมองแนวคิดด้านบวกเกี่ยวกับความรู้สึกของผู้บริหารที่มีต่อการคงอยู่ในองค์กร ทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) กับผู้บริหารประจำแผนกวิศวกรรมการผลิต ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอัตโนมัติ จำนวน 8 คน ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และ การศึกษาในงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เพื่อศึกษาหาอิทธิพลของปัจจัยการธำรงรักษาพนักงาน ที่มีผลต่อการคงอยู่ในองค์กรของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานตั้งแต่ระดับพนักงานประจำการ (Staff) และ พนักงานอาวุโส (Senior staff) จำนวน 200 คน ประจำแผนกวิศวกรรมการผลิต ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอัตโนมัติ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ปัจจัยด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน กระบวนการวิจัยขั้นที่ 2 เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากกระบวนการวิจัยขั้นที่ 1 มาเป็นข้อมูลในการสนับสนุนการจัดสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การธำรงรักษาพนักงาน กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ พนักงานตั้งแต่ระดับพนักงานประจำการ (Staff) พนักงานอาวุโส (Senior staff) และผู้บริหาร ประจำแผนกวิศวกรรมการผลิต ประจำแผนกวิศกรรมการผลิต ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอัตโนมัติจำนวน 68 คน ภายหลังจากได้ผลการสนทนากลุ่มแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ SONEAR เพื่อทำการสร้างเป็นนโยบายและกลยุทธ์การธำรงรักษาพนักงาน และ กระบวนการวิจัยขั้นที่ 3 ดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) เพื่อหาความพึงพอใจของพนักงานต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานตั้งแต่ระดับพนักงานประจำการ (Staff) พนักงานอาวุโส (Senior staff)  และผู้บริหาร ประจำแผนกวิศวกรรมการผลิต ประจำแผนกวิศกรรมการผลิต ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอัตโนมัติจำนวน 100 คน ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ผลความพึงพอใจด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ตัวแปรอิสระ “การธำรงรักษาพนักงาน” มีอิทธิพลต่อ “การคงอยู่ในองค์กร” ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (2) จากผลการสัมภาษณ์ มุมมองของผู้บริหารที่มีเกี่ยวกับความรู้สึกที่ดีต่อการคงอยู่ในองค์กร พบว่าประสบการณ์ความรู้สึกที่ดีต่อการทำงานในองค์กรแห่งนี้ ของผู้บริหารภายในองค์กรคือ 1) การทำงานเป็นทีม 2) บทบาทหัวหน้างานที่ดี และ 3) การได้รับโอกาสในการทำงาน และงานนั้นประสบความสำเร็จ (3) ผลการจัดการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) พบว่า ผู้มีส่วนได้ เสีย (Stakeholder) ได้ร่วมกันพัฒนาแผนการธำรงรักษาพนักงาน ทำการสร้างแผนการปฏิบัติ และ กลยุทธ์ทั้งหมด 6 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านความสมดุลของชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว 2) ด้านรางวัลและผลตอบแทน 3) ด้านความก้าวหน้าทางอาชีพ 4) ด้านการฝึกอบรมและการพัฒนา 5) ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน 6) ด้านบทบาทหัวหน้างาน (4) ผลการสำรวจความพึงพอใจของพนักงานแผนกวิศวกรรมการผลิต ต่อโครงร่างนโยบายการธำรงรักษาพนักงาน เพื่อสร้างแนวทางการธำรงรักษาพนักงาน พบว่า พนักงานแผนกวิศวกรรมการผลิตมีความพึงพอใจต่อโครงร่างเชิงนโยบายอยู่ในระดับมากที่สุด (5) ผลการวิจัยการธำรงรักษาพนักงาน สามารถนำมาสังเคราะห์เป็นแนวทางการธำรงรักษาพนักงาน ฝ่ายวิศวกรรมการผลิต ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตอัตโนมัติ ซึ่งก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ในการนำงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ เพื่อหาแนวทางการธำรงรักษาพนักงาน แผนกวิศวกรรมการผลิต ในภาคอุตสาหรกรรมการผลิตอัตโนมัติ ในรูปแบบองค์ความรู้ด้านวิชาการ เรียกว่า “2M1W Model” ที่หมายถึง “การสร้างคน สร้างงาน และ สร้างแรงจูงใจ” ซึ่งได้มาจากการตกผลึกทางความคิด จากความร่วมมือของพนักงานทุกคนภายในองค์กรประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลัก ที่มีผลต่อการธำรงรักษาพนักงาน คือ คน (M - Man) งาน (W - Work) และ แรงจูงใจ (M - Motivation) โดยจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการธำรงรักษาพนักงานทั้ง 3 วง ก่อให้เกิดจุดร่วมที่ทับซ้อน 4 จุด คือ ทักษะการทำงาน (Skill) ความท้าทาย (Challenge) การได้รับโอกาส (Opportunity) และ การธำรงรักษา (Retention) และสามารถนำมาพัฒนาโดยการบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic planning) ขององค์กรต่อไป
Description: Master Degree of Business Administration (M.B.A.)
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/214
Appears in Collections:Faculty of Graduate School of Commerce

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61710036.pdf8.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.