Please use this identifier to cite or link to this item: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/169
Title: INDIVIDUAL AND GROUP CREATIVITY OF TENTH GRADE STUDENTS USING ACTIVE LEARNING  ON GENETICS AND DNA TECHNOLOGY
ความคิดสร้างสรรค์ระดับบุคคลและระดับกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ
Authors: Chorruk Wongsawan
ช่อรัก วงศ์สวรรค์
KITTIMA PANPRUEKSA
กิตติมา พันธ์พฤกษา
Burapha University. Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ความคิดสร้างสรรค์ระดับบุคคล
ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลุ่ม
Active learning
Individual creativity
Group creativity
Issue Date:  9
Publisher: Burapha University
Abstract: This research was aimed to study tenth grade students’ individual and group creativity after learning through active learning. The research design was a classroom action research which consisted of 4 steps; Plan, Act, Observe and Reflect. The target group was forty-three tenth grade students of 2019 academic year at Chonkanyanukul school. The research instruments were active learning lesson plans, individual and group creative thinking tests, individual and group creative process tests, individual and group creative product evaluation forms and work creatively with others evaluation forms. The data were analyzed by mean, standard deviation and percentage. The findings were as follows: 1. Students’ individual creativity were 73.53% after using active learning. 2. Students’ group creativity were 89.96% after using active learning.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ระดับบุคคลและระดับกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชลกันยานุกูล ปีการศึกษา 2562 จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบวัดการคิดแบบสร้างสรรค์ระดับบุคคลและระดับกลุ่ม แบบวัดกระบวนการคิดสร้างสรรค์ระดับบุคคลและระดับกลุ่ม แบบประเมินความสร้างสรรค์ของผลงานระดับบุคคลและระดับกลุ่ม และแบบประเมินความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ เพื่อตอบคำถามงานวิจัย ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้เชิงรุกส่งผลให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ระดับบุคคล เฉลี่ยร้อยละ 73.53 2. การจัดการเรียนรู้เชิงรุกส่งผลให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ระดับกลุ่ม เฉลี่ยร้อยละ 89.96
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://ir.buu.ac.th/dspace/handle/1513/169
Appears in Collections:Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61910062.pdf4.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.